Notice: Undefined index: path in /home/siamide1/domains/noxdoww.com/public_html/catalog/controller/content/content.php on line 38

สาระน่ารู้เรื่องปลวก


หมวดธรรมชาติชีวิตของปลวก

1.แหล่งเพาะพันธุ์ แหล่งหลบซ่อน แหล่งสะสมรังปลวก อยู่ที่บริเวณใดบ้าง

ปลวกทำลายไม้ใช้ประโยชน์ที่สำคัญมีอยู่ 2 ชนิด คือ

    - ปลวกใต้ดินและปลวกที่ทำรังอยู่ในดิน                                                                                                                                 

    - ปลวกไม้แห้ง

    ก. ปลวกใต้ดินและปลวกที่ทำรังอยู่ในดิน มีแหล่งเพาะพันธุ์ในดินเริ่มจากแมลงเม่าตัวเมียและตัวผู้บินออกจากรัง ส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเวลาพลบค่ำหลังฝนตกแล้วทิ้งตัวลงสู่ดิน สลัดปีกทิ้งแล้วจับคู่กันคลานลงไปผสมพันธุ์กันและอาศัยอยู่ในดินบริเวณที่มีเศษไม้หรือวัสดุที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบที่มาใช้เป็นอาหารระหว่างตัวเมีย วางไข่และเป็นอาหารของตัวอ่อนที่พึ่งฟักออกมาชุดแรก โดยตัวอ่อนชุดแรกทั้งหมดจะเติบโตขึ้นเป็นปลวกงาน ทำหน้าที่ในการสร้างรังใหม่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นสำหรับเป็นที่อยู่ของตัวอ่อนชุดอื่นๆซึ่งตัวอ่อนชุดต่อมาจะมีการฟักไปเป็นปลวกวรรณะอื่นๆต่อไป เช่น ปลวกทหาร หรือวรรณะสืบพันธุ์ต่อไปเมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสม


     


วงจรชีวิตของปลวก


        ในแหล่งเพาะพันธุ์หรือแหล่งซ่อนตัวของปลวกคู่ใหม่จะอยู่บริเวณใกล้ๆกันกับจุดที่แมลงเม่าคู่แรกใช้เป็นที่ผสมพันธุ์และวางไข่ ต่อมาเมื่อสมาชิกภายในรังเพิ่มจำนวนมากขึ้น ต้องการพื้นที่อยู่อาศัยมากขึ้น ปลวกงานก็จะมาทำทางเดินดินหรือผนังดินปกคลุมพื้นที่บริเวณใกล้เคียงให้กว้างขวางขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นส่วนของช่องว่างใต้พื้นดินหรือพื้นคอนกรีตหรือไม้โครงสร้างอาคาร เพื่อซ่อนตัวเตรียมที่จะบุกรุกเข้าสู่อาคารต่อไป

        แหล่งเพาะพันธุ์ของปลวกใต้ดินซึ่งอาจเริ่มจากส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารบริเวณที่มีไม้หรือโครงสร้างอื่นๆที่ไปสัมผัสพื้นดินเกิดจากต้นไม้ที่อยู่ภายใต้อาคาร บริเวณหลังคา ฝ้าเพดานที่มีน้ำรั่วซึมสะสมอยู่ รวมทั้งบริเวณซอกหรือ หลืบของอ่างอาบน้ำ อ่างล้างหน้าหรือชักโครก และท่อน้ำทิ้ง

        นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ภายนอกของอาคารเราอาจพบแหล่งสะสมของปลวกได้บ่อยมากบริเวณช่องว่างของผนังก่ออิฐที่อับชื้นด้านในของเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน ท่อหุ้มสายไฟหรือท่อน้ำและท่อน้ำทิ้ง


    ข. สำหรับปลวกไม้แห้ง แหล่งเพาะพันธุ์ แหล่งหลบซ่อน และแหล่งสะสมปลวกมีอยู่เฉพาะภายในต้นไม้ที่แมลงเม่าคู่แรกเข้าไปหลบซ่อนตัวเพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ โดยมีขอบเขตของการสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่ของสมาชิกใหม่ของรังรุ่นใหม่ที่ฟักออกมา แต่ส่วนใหญ่แล้วขอบเขตขยายของรังปลวกไม้แห้งจะไม่ขยายไปไกลถึงไม้ชิ้นอื่นๆ เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้วปลวกไม้แห้งแต่ละรังจะมีประชากรไม่มากเหมือนปลวกใต้ดินโดยปลวกไม้แห้งรังหนึ่งจะมีประชากรไม่เกินหมื่นตัวในขณะที่ประชากรของปลวกใต้ดินในรังที่โตเต็มที่่อาจมีมากเป็นจำนวนล้านตัว


2. แมลงเม่าที่พบเห็นในช่วงหน้าฝนใช่ปลวกหรือไม่?


   


    แมลงเม่าที่พบเห็นในช่วงหน้าฝนเป็นปลวกในวรรณะสืบพันธุ์ แต่แมลงเม่าปลวกไม่ได้บินออกมาให้เห็นเฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั้นมีแมลงเม่าปลวกบางชนิดโดยเฉพาะปลวกชนิดที่เป็นศัตรูสำคัญของอาคารบ้านเรือนของเราจะบินออกจากรังมาเล่นไฟในช่วงพลบค่ำของช่วงปลายฤดูหนาวไปถึงต้นฤดูร้อน ประมาณปลายมกราคม-มีนาคม อย่างไรก็ดีเนื่องจากสภาวะดินฟ้าอากาศของโลกและของประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก การพบเห็นแมลงเม่าในปัจจุบันอาจพบได้ล่าช้าไปถึงปลายกุมภาพันธ์ถึงต้นพฤษภาคม

3.นางพญาปลวกมีอายุกี่ปี และออกไข่วันละกี่ฟอง


   


    นางพญาหรือราชินีปลวกแต่ละชนิดมีอายุยืนอยู่ได้ไม่เท่ากัน สำหรับปลวก ถ้าสร้างรังอยู่ใต้สภาพที่มีดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม ตัวการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ มีอาหารอุดมสมบูรณ์ และไม่มีศัตรูรบกวน นางพญาของปลวก Coptotermes อาจมีอายุยืนยาวได้ 20-25 ปี อาจออกไข่ได้มากถึงครั้งละ30,000 ฟอง

4.จุดสังเกตรูปลักษณะมดต่างจากปลวกอย่างไร


    


5.ปลวกที่อาศัยในบ้าน กับปลวกที่พบเจออยู่รอบๆบ้าน หรือบริเวณสนามหญ้า และต้นไม้ในสวน เป็นปลวกสายพันธุ์เดียวกันหรือไม่ 


  

    โดยธรรมชาตีที่แท้จริงของปลวกชนิดที่เข้าทำลายอาคารบ้านเรือนและทรัพย์สินที่มีองค์ประกอบของเซลลูโลสกับปลวกที่พบอยู่นอกบ้าน บริเวณสนามหญ้า หรือบนต้นไม้จะเป็นปลวกสายพันธุ์ต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เราพบปลวกนั้นๆ แต่อาจจะมีหลายสถานการณ์ที่เราอาจพบปลวกชนิดที่เข้าทำอันตรายอาคารบ้านเรือนมีที่ซ่อนตัวอยู่ภายนอกอาคารอาจจะเป็นใต้พื้นสนามหญ้า ในต้นไม้ รากต้นไม้ที่อยู่ใกล้กับตัวอาคารแล้วพยายามสร้างทางเดินดินเล็ดลอดเข้ามา ทำความเสียหายในตัวอาคารหรือทรัพย์สินในอาคารได้ หากอาคารนั้นไม่มีการป้องกันกำจัดปลวกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการบุกรุกของปลวก



หมวดการป้องกันกำจัดปลวก 

1.ปัจจัยที่ทำให้ปลวกบุกรุกเข้าสู่ตัวอาคาร มีอะไรบ้าง ? 



2.เกณฑ์ในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์น้ำยากำจัดปลวกที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เข้ามาบริการบ้านของท่าน ?

การเลือกใช้สารกำจัดปลวกชนิดต่างๆมีข้อพิจารณา ดังนี้



    -เลือกใช้ชนิดของสารกำจัดปลวก ซึ่งได้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและได้ทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุขแล้วเท่านั้น

    -เลือกใช้สารกำจัดปลวกในอัตราความเข้มข้นที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของการป้องกันกำจัด เช่น ควรเลือกใช้ในอัตราความเข้มข้นต่ำสุดที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดปลวกได้ เพื่อช่วยลดปัญหาในด้านฤทธิ์ตกค้าง และความเป็นพิษที่มีต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสารเคมีอีกด้วย เช่น เลือกใช้ความเข้มข้นต่ำเพื่อการกำจัดเฉพาะจุด ที่ไม่หวังผลในการป้องกันในระยะยาว

    -เลือกรูปแบบของสูตรผสมให้เหมาะสมกับลักษณะของการนำไปใช้งาน เช่น การอัดหรือฉีดพ่นลงพื้นดิน ในช่องว่างหรือรอยแตกของผนัง หรือภายในตู้แผงสวิตช์ไฟ เป็นต้น 

    -เลือกอุปกรณ์และกรรมวิธีที่เหมาะสมกับชนิดของสารป้องกันปลวก เช่น ควรเลือกสูตรผสมชนิดเข้มข้น ซึ่งต้องผสมน้ำก่อนนำไปฉีดพ่นลงดิน โดยใช้เครื่องพ่นแบบสูบโยกสะพายหลัง ชนิดใช้แรงลมหรือใช้เครื่องพ่นแรงดันต่ำ สำหรับในโครงสร้างไม้ที่ถูกทำลายโดยเฉพาะในบริเวณซอกมุม อาจเลือกใช้สูตรผสมที่ใช้สารอินทรีย์เป็นตัวทำละลาย โดยใช้อุปกรณ์เข็มฉีดยา หรือเครื่องพ่นขนาดเล็กฉีดพ่นเข้าไปตามร่อง รอยแตกแยกของโครงสร้างที่ถูกทำลาย หรือเลือกใช้สูตรผสมชนิดผงละเอียดโดยใช้ลูกยางบีบพ่น ผงไปภายในโครงสร้างที่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงความชื้น เป็นต้น

ข้อควรระวัง และข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดปลวก

    1.เลือกชนิดของสารเคมีที่จะใช้ให้ถูกต้องกับชนิดของศัตรู

    2.ตระหนักถึงความเป็นพิษของสารเคมี และปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลาก

    3.ทำความสะอาดร่างกายบริเวณที่ถูกสารเคมี และเปลี่ยนเสื้อผ้าที่เปรอะเปื้อน

    4.ดูแลรักษาเครื่องมือให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี เพื่อการทำงานที่ได้ผล และลดอันตราย

    5.ใช้เครื่องป้องกันอันตรายจากสารเคมีที่จะเข้าทางส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น หมวกสวมกันละออง ที่กรองหายใจ ถุงมือ รองเท้า และชุดทำงานที่มิดชิด

3.ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงทางการเกษตรสามารถนำมาใช้แทนผลิตภัณฑ์กำจัดปลวกและแมลงตามบ้านเรือนได้หรือไม่ ? เพราะเหตุใด? 


   


    ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงทางการเกษตรไม่สามารถนำมาใช้แทนผลิตภัณฑ์กำจัดปลวกและแมลงตามบ้านเรือนได้ เนื่องจากมีกรรมวิธีในการผลิตเพื่อให้มีประสิทธิภาพต่อการดำรงชีวิตของแมลงแตกต่างกัน ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงทางการเกษตรต้องการประสิทธิภาพในการกำจัดที่ให้ผลตกค้างในระยะเวลาอันสั้น ไม่มีผลตกค้างถึงผู้บริโภคในขณะที่ผลิตภัณฑ์กำจัดปลวกต้องการประสิทธิภาพในการคุ้มครองที่ยาวนาน

4.ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโฆษณาชวนเชื่อที่ว่ามีผลิตภัณฑ์ที่สามารถกำจัดปลวกให้ตายยกรัง หรือตายต่อๆ กันทั้งรังนั้น เป็นความจริงหรือไม่? เพราะเหตุใด ?



    การโฆษณาผลิตภัณฑ์ว่าสามารถกำจัดปลวกให้ตายต่อเนื่องและตายยกรังนั้น มีผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่มีประสิทธิภาพที่เป็นความจริง ในขณะที่อีกหลายผลิตภัณฑ์เป็นเพียงโฆษณาชวนเชื่อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของสารเคมีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์นั้นๆ


  


    ปลวกเป็นแมลงที่มีวิวัฒนาการในการดำรงชีวิตเพื่อการอยู่รอดมานับเป็นล้านๆปี มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ละเอียดซับซ้อน ผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ในการกำจัดปลวกให้ตายยกรังและตายต่อเนื่องได้สำเร็จจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องผ่านกระบวนการวิจัยและทดลองใช้มาแล้วโดยละเอียดและยาวนาน มีผลการวิจัยที่เป็นเหตุเป็นผลและพิสูจน์ได้

    อย่างไรก็ตามการที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทที่กล่าวมาแล้วต้องการผู้มีประสบการณ์ในการวางระบบจึงจะทำให้การใช้ผลิตภัณฑ์ได้ผลดีตามต้องการ

5.การกำจัดปลวกให้ได้มาตรฐานการทำงาน มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติงานหรือผลิตภัณฑ์กำจัดปลวก อย่างใดที่มีวามสำคัญมากกว่ากัน



    ในการกำจัดปลวกให้ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะต้องประกอบด้วยผู้ปฏิบัติงานและผลิตภัณฑ์ที่ดีในสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน ผู้ปฏิบัติงานแม้ว่าจะมีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานมากเพียงใดแต่หากใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ปลวกก็จะสามารถบุกรุกเข้าในพื้นที่การปฏิบัติงานนั้นๆได้ ในทำนองเดียวกันถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์กำจัดปลวกนั้นจะมีคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมเพียงใด หากผู้นำไปใช้ไม่มีความละเอียดรอบคอบ ใช้ผลิตภัณฑ์ไม่ครอบคลุมทุกกรณีที่จำเป็นต้องใช้ ปลวกก็จะสามารถหาช่องทางบุกรุกเข้าทำลายพื้นที่ที่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆได้เสมอ



แหล่งที่มาข้อมูล   :  ท่านอาจารย์ ดร.จารุณี วงศ์ข้าหลวง

- ผู้ทรงคุณวุฒิ อย. ด้านปลวก

- ที่ปรึกษากรมป่าไม้

- อดีตผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจและผลิตผลป่าไม้ ข้าราชการระดับ 9

- ปริญญาโท M.Sc University of Reading ประเทศอังกฤษ

- ปริญญาเอก Entomology (กีฏวิทยา) North Carolina State University USA